โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเตรียมเส้นใยกัญชงด้วยอุปกรณ์ตำเส้นใย นายมนตรี แก้วอยู่ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ | กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเตรียมเส้นใยกัญชงด้วยอุปกรณ์ตำเส้นใย นายมนตรี แก้วอยู่ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 13 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 861 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการวิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเตรียมเส้นใยกัญชงด้วยอุปกรณ์ตำเส้นใย ของ นายมนตรี แก้วอยู่ อาจารย์สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ"

โดยมี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธวัชชัย อุ่นใจจม อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกล การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล สมบัติเชิงกลของวัสดุ และระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ นายมนตรี แก้วอยู่ (หัวหน้าโครงการ),ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมหมาย สารมาท (ผู้ร่วมโครงการ) ,คุณธัญพร ถนอมวรกุล (ประธานวิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง) พร้อมทั้งนักศึกษามทร.ล้านนา ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและการเตรียมเส้นใยกัญชงให้แก่ชุมชน 

เนื่องจากปัจจุบันจากวิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง ชาวบ้านยังใช้วิธีการเตรียมเส้นใยกัญชงด้วยมือ และไม่มีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเตรียมเส้นใยกัญชง โดยใช้ต้นกัญชงแบบแห้งทำการลอกเปลือกเส้นใยด้วยมือ และต้องนำมาทำการทุบเส้นใยกัญชงโดยการใช้สากไม้ตำเส้นใยกัญชง หรือทุบเส้นใยให้เกิดความอ่อนตัวเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการต่อไป ซึ่งทั้งสองกระบวนการดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วโมง ประกอบกับชาวบ้านที่เป็นผู้ตำส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จึงส่งผลให้เหนื่อย ปริมาณงานที่ได้ออกมาน้อย เนื่องจากใช้ระยะเวลาที่นาน และส่งผลต่อปัญหาสุขภาพตามมา จากโครงการดังกล่าวนักวิจัย มทร.ล้านนา ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวิสาหกิจชุมชนที่มีความต้องการเครื่องมือหรือเทคโนโลยี เครื่องจักร ที่ใช้ในการทุ่นแรง เพื่อให้ประหยัดแรงงานคน ในกระบวนการขั้นตอนของการตำเส้นใย กัญชง เพื่อนำไปสู่กระบวนการต่อไป  นักวิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญเเละเข้ามาช่วยในเรื่องการออกแบบเครื่องจักรที่เข้ามาช่วยในการตำเส้นใยกัญชง ที่จะสามารถลดระยะเวลาในการทุบเส้นใบให้มีความนิ่ม มีประสิทธิภาพที่จะส่งผลให้ได้ปริมาณเส้นใยเพิ่มขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ทั้งนี้ได้มีการวางแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการ และแนวทางการพัฒนาเครื่องตำเส้นใยกัญชงให้สามารถทำได้จริง ที่จะส่งผลประโยชน์แก่ชุมชนในอนาคตอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา